วิเคราะห์ระบบห้องเย็น


iot ห้องเย็น

กราฟห้องเย็น IoT

         มาดูกราฟที่ 1 กันครับ เป็นห้องเก็บอาหารทะเล ใช้อุณหภูมิ -​25 องศา จากกราฟ จะมีจุดสังเกตุทั้งหมด 6 จุด ซึ่งทั้ง 6 จุดนี้สามารถอธิบายการทำงานของเครื่องทำความเย็นได้

วิเคราะห์ห้องเย็น
วิเคราะห์ห้องเย็น


1. รู้การทำงาน เราสามารถรู้ได้ว่าใน 1 วัน เครื่องคอมเพรสเซอร์, คอล์ยร้อน และ คอยล์เย็น ทำงาน กี่นาที ฮีทเตอร์ทำงานกี่ครั้งต่อวัน ครั้งละกี่นาที ดูว่าตรงกับที่เราตั้งตัวเทอร์โมสตัสไหม

2. รู้สถานะห้องเย็น เรารู้ได้ว่าห้องเย็นทำงานปกติไหม ดูจากกราฟ ถ้ากราฟขึ้นลงเป็น cycle ลักษณะนี้ ถือว่า ปกติ

  ห้องเย็นแต่ละห้องจะมี พฤติกรรม รูปแบบกราฟแตกต่างกันออกไป ขึ้นอยู่กับการใช้งานของแต่ละห้องเย็น ผมจะให้ดูกราฟหลายๆ แบบนะครับ

3. รู้ปัญหาก่อน เรารู้ได้ว่าห้องเย็นหรือเครื่องทำความเย็น มีปัญหา ตอนไหน เป็นเวลาเท่าไร จะได้แก้ไขปัญหาได้ทันเวลา ดูจากกราฟได้
จุดที่ 1 คือจุดอุณหภูมิลงต่ำที่สุดที่ -25 องศา จุดนี้คือจุดเครื่องทำความเย็นหยุดทำงานด้วย

จุดที่ 2 อุณหภูมิสูงขึ้นไปถึง -​12 องศา เครื่องจะกลับมาทำงานอีกครั้ง สังเกตุเวลาไหมครับ ว่าใช้เวลากี่นาทีจาก -​25 ขึ้นไปถึง -​12 องศา จะใช้เวลา ประมาณ 30 นาที ครับ นั้นหมายถึงว่าเครื่องจะทำงาน 30 นาที หยุด 30 นาที สลับกันไปอย่างนี้ไปเรื่อยๆ

จุดที่ 3 เป็นที่ทำงานต่อเนื่องจากจุดที่ 1 และ 2

จุดที่ 4 จุดที่ defrost หรือละลายน้ำแข็ง ทำงานเสร็จเรียบร้อย

จุดที่ 5 จุดที่ คอมเพรสเซอร์กลับมาทำงาน หลังจาก Defrost เสร็จ ใช้เวลาเพียงประมาณ 30 นาที ก็สามารถดึงอุณหภูมิลงมาถึงอุณหภูมิที่เราต้องค่าไว้ได้

จุดที่ 6 ครบรอบ 3 ชั่วโมง จะกลับมา Defrost ใหม่ จนเสร็จเรียบร้อยอีกครั้ง ตามที่ได้ตั้งค่า SET POINT ไว้ และจะเป็น LOOP แบบนี้ไปเรื่อยๆ

จากข้อมูลที่เราทราบ ลูกค้าสามารถนำข้อมูลไป ประยุกต์ วิเคราะห์ระบบห้องเย็นของตัวเองได้ เช่นการคำนวณเรื่องค่าไฟฟ้า และการปรับค่าตัวควบคุมห้องเย็นได้

กราฟที่ 2

เป็นห้องเย็นเก็บอาหาร ร้านชาบูเก็บแช่ หมู ไก่ อาหารทะเล จากรูปกราฟ มีจุดสังเกตุ 4 จุด ให้เราลองเปรียบเทียบกับกราฟแรกนะครับ กราฟที่ 1 กับ กราฟ 2 ต่างกันยังไงบ้าง

วิเคราะห์ห้องเย็น
ห้องนี้อุณหภูมิ -​12 องศาเซลเซียส แต่ที่ตั้งค่า Set Point จริงๆ อยู่ที่ -15 องศา นั้นหมายความว่า ห้องเย็นเย็นไม่ได้อุณหภูมิที่ต้องการ ทำได้แค่ -12 องศา แต่จริงๆ เราต้องการ -15 องศา

ห้องนี้มีการเซ็ตค่าไว้ดังนี้ อุณหภูมิ ตั้งไว้ -15 องศา ระยะเวลาละลายน้ำแข็ง 4 ชั่วโมง ครั้งละ 25 นาที

จุดที่ 1 คือจุดอุณหภูมิลงต่ำที่สุดที่ -11 องศา ความต้องการจริงๆ คือ -15 องศา แต่ถูกตัดการทำงานก่อนด้วย Defrost ละลายน้ำแข็งครบเวลาที่ต้องละลาย

จุดที่ 2 ใช้เวลา Defrost ประมาณ 25 นาที จากจุดที่ 1 ถึงจุดที่ 2 จากนั้นเครื่องทำความเย็นก็กลับมาทำงานอีกครั้ง

จุดที่ 3 คอมเพรสเซอร์ทำงานใช้เวลา ประมาณ 3 ชั่วโมงครึ่ง ทำงานหลักจาก Defrost จนมาถึงเวลาการ Defrost ในรอบถัดไปอุณหภูมิก็ได้เพียง -12 องศา เท่านั้น ยังไม่ถึง -15 องศาตามที่ต้องการ

จุดที่ 4 เหมือนจุดที่ 2 เลยครับ

สังเกต พฤติกรรมห้องเย็นที่ 2 บอกอะไรเราได้บ้าง อย่างแรกที่รู้เลยคือคอมเพรสเซอร์กับคอยล์เย็นทำงานตลอดเวลา ไม่ได้หยุด ทำงานเลย หยุดแค่เพียงช่วงเวลาที่ Defrost ละลายน้ำแข็งเท่านั้น ถ้าเครื่องทำงานลักษณะนี้อาจจะใช้ไฟฟ้ามากกว่าห้องที่ 1 แน่ๆ ค่าไฟก็จะแพงกว่านั้นเอง

เราจะแก้ปัญหา ที่อุณหภูมิไม่ถึงนี้ได้อย่างไรบ้าง ก็มีหลายสาเหตุนะครับ อย่างเช่น โหลดสินค้า ที่เอาเข้าห้องเย็นอาจกจะใส่มากเกินกว่าปกติเยอะๆ หรือเป็นสินค้าสดปริมาณมาก ไม่สอดคล้องกับขนาดเครื่องทำความเย็นทำให้อุณหภูมิไม่ถึง หรือ มีปัญหาที่ ระบบห้องเย็นเอง ส่วนนี้ก็ต้องไปวิเคราะห์ปัญหาที่หน้างานเอานะครับ บอกคร่าวๆ ได้ประมาณนี้

แล้วถ้าห้องเย็นทำงานไม่ปกติล่ะ จะมีอะไรแจ้งเตือนเราไหม

ผมได้พัฒนา ระบบแจ้งเตือนไว้เรียบร้อยแล้วครับผม สบายใจได้ ถ้าเมื่อไรที่ห้อง มีปัญหา ระบบจะ แจ้งเตือน ผ่านแอปไลน์ที่ทุกคนใช้กันอยู่แล้ว ไปยังลูกค้าและทีมซ่อมบำรุงห้องเย็นของ ทันทีทุกเวลา ไม่ว่าจะกลางวัน หรือกลางคืน ตลอด 24 ชม. เราจะได้แก้ไขปัญหาได้ทันเวลา ก่อนที่สินค้าในห้องเย็นจะเสียหาย

ซ่อมห้องเย็น

ถ้าเราไม่ได้อยู่บ้านหรืออยู่บริเวณห้องเย็น ก็สามารถดูอุณหภูมิ ณ ปัจจุบัน และแจ้งเตือนได้ตลอด  ผมขอ ยกตัวอย่าง เคสหนึ่งในรูปด้านล่างนี้ ตอนเวลา 19.15 น. และไม่มีคนอยู่บริเวณห้องเย็นเลย เกิดเหตุการณ์ คอยล์ร้อนตัดการทำงาน เนื่องจากมอเตอร์พัดลมคอยล์ยร้อน กินกระแสไฟฟ้าผิดปกติ ตัวโอเวอร์โหลดจึงตัดการทำงานเพื่อป้องกันไม่ให้มอเตอร์เสียหรือไหม้ ระบบทำความเย็นหยุดการทำงาน แต่เรามีระบบแจ้งเตือนผ่านไปยัง Line แจ้งเตือนทุกนาที จึงมั่นใจในความปลอดภัยได้ครับผม

ห้องเย็นเสีย

คลิปวิดีโอสอนใช้งานระบบ IoT ห้องเย็น




การทำงานของระบบ
IoT ห้องเย็น

เช็คอุณหภูมิห้องเย็นออนไลน์ องค์กร


หวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์ นะครับ ^^

สนใจสอบถามข้อมูล ยินดีให้บริการ
084-013-7350
phurits
Inbox เฟสบุค คลิก

Line QR Code



หมายเหตุ

บทความที่เกี่ยวข้อง


ห้องเย็นสวยๆ














หมดปัญหาเรื่องหาข้อมูลอะไหล่ห้องเย็นไม่ได้
ฟรี! ไม่เก็บค่าบริการในการใช้งาน
ค้นหาราคาอุปกรณ์ห้องเย็น